SDGs8

สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ให้บริการวิชาการเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องครอบคลุมและยั่งยืน

           ทีมคณาจารย์จากหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ ได้ให้บริการวิชาการในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ตำบลนาแว อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นโครงการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้สามารถมีสภาพคล่องเพียงพอในการรักษาการจ้างงานเดิม หรือช่วยให้เกิดการจ้างงานใหม่ และการจ้างงานต่อเนื่องเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการตอบโจทย์ในการการขจัดความยากจน (SDGs1 No Poverty) การสนับสนุนส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องครอบคลุมและยั่งยืน การจ้างงานที่มีคุณค่า (SDG8. Decent work and economic growth) และสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และอุตสาหกรรม (SDG9. Industry, Innovation and Infrastructure

           กิจกรรมในการดำเนินการของโครงการประกอบด้วย 1) การจ้างงานผู้ปฏิบัติงาน และพัฒนาศักยภาพหรือทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในด้านการพัฒนา ส่งเสริม และผลักดันเศรษฐกิจ BCG ของพื้นที่ จากการดำเนินงาน โครงการได้มีการจ้างงานขึ้นจำนวน 8 คน เป็นประชาชน จำนวน 4 คนและบัณฑิต จำนวน 4 คน 2) การพัฒนา ส่งเสริม และผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการด้าน BCG ของชุมชนออกสู่ตลาดอย่างเป็นระบบและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชนในการยกระดับผลิตภัณฑ์และช่วยส่งเสริมการสร้างรายได้แก่ชุมชน โดยผ่านการจัดกิจกรรมการอบรมด้านการทำการตลาดดิจิทัลและการสร้างร้านค้าออนไลน์ในรูปแบบที่เป็นที่นิยม โดยมีผลิตภัณฑ์กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1) กาแฟดงโรบัสต้า (DONG ROBUSTA)  2) เครื่องแกง บ้านฝ่ายท่า (Baan Fay Tha curry paste) และ 3) เครื่องจักสาน บ้านชะลอม (Baan Chalom Wickerwork) ทั้งนี้โครงการได้เลือกวิธีการพัฒนาร้านค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ในช่องทาง Facebook และ Shopee เพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และการขายผลิตภัณฑ์ในรูปแบบออนไลน์ รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนด้านการทำการตลาดดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยจัดกิจกรรมการเพิ่มศักยภาพด้านต่าง ๆ ให้แก่คนในชุมชน ได้แก่ การจัดอบรมหลักสูตรการสร้าง Story Telling เพื่อสร้างอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ชุมชน การถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน (เครื่องจักสาน) และการอบรมการพัฒนาศักยภาพด้านการทำการตลาดดิจิทัลในการสร้างร้านค้าออนไลน์ด้วย Shopee สำหรับผลิตภัณฑ์ เพื่อพัฒนาภาคการผลิตบนฐานของการพัฒนานวัตกรรมโดยใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายกิจกรรมการผลิต โดยผลของการดำเนินโครงการส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ (ROI) ดังนี้ 1) กาแฟดงโรบัสต้า (DONG ROBUSTA)  38.75  เปอร์เซนต์ 2) เครื่องแกง บ้านฝ่ายท่า (Baan Fay Tha curry paste) 21 เปอร์เซนต์ และเครื่องจักสาน บ้านชะลอม (Baan Chalom wickerwork) 26.67 เปอร์เซนต์ และผลกระทบทางสังคม (SROI) 1) กาแฟดงโรบัสต้า (DONG ROBUSTA) 42.50  เปอร์เซนต์ 2) เครื่องแกง บ้านฝ่ายท่า (Baan Fay Tha curry paste) 30 เปอร์เซนต์ และเครื่องจักสาน บ้านชะลอม (Baan Chalom wickerwork) 46.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

Scroll to Top