ศักยภาพสินค้าท้องถิ่นของตำบลแหลมตะลุมพุก สำหรับการขายออนไลน์

โครงการเพิ่มศักยภาพสินค้าท้องถิ่นของตำบลแหลมตะลุมพุก สำหรับการขายออนไลน์

ความเป็นมา

ชุมชนตำบลแหลมตะลุมพุกมีความต้องการจะนำความรู้ทางวิชาการไปใช้ในพื้นที่ เพื่อพัฒนาส่งเสริม และผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการด้าน BCG ของชุมชน ออกสู่ตลาดอย่างเป็นระบบและยั่งยืน  โดยมุ่งเน้นยกระดับเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรชุมชน (ข้าวซ้อมมือและลูกหม่อน (Mulberries) ส่งเสริมพัฒนาฝีมือแรงงานชุมชน ทักษะผู้ประกอบการ ส่งเสริมแหล่งเรียนรู้อย่างมืออาชีพ เกษตรกรรมปลอดภัยและพัฒนาท้องถิ่นตนเอง รวมทั้งการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในหลากหลายรูปแบบ เพื่อจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในหลายด้าน พร้อมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) และการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้อมูลชุมชุนขนาดใหญ่ (Thailand Community Big Data : TCD) ในพื้นที่

รูปแบบกิจกรรมที่เข้าไปดำเนินการในพื้นที่

  • การจ้างงานของผู้ปฏิบัติงานและการพัฒนาศักยภาพหรือทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในด้านการพัฒนา

ส่งเสริมและผลักดันเศรษฐกิจ BCG ของพื้นที่

  • การพัฒนาส่งเสริมและผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการด้าน BCG ของชุมชนออกสู่ตลาดอย่างเป็นระบบและยั่งยืนพัฒนายกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์แปรรูปจากอาหารทะเล (กะปิและผลิตภัณฑ์ปลาเส้นตากแห้ง) ประกอบด้วยแผนงานหลักได้แก่ 1. งานศึกษาวิเคราะห์สินค้าและบริการของชุมชนตามความต้องการของตลาด 2 .งานยกระดับมาตรฐานพัฒนาสินค้าและบริการของชุมชน 3. งานการออกแบบบรรจุภัณฑ์หรืออัตลักษณ์และแบรนด์สินค้าเพื่อให้สินค้าและบริการนั้นมีความโดดเด่นน่าสนใจและสามารถกระจายสินค้าและบริการได้อย่างกว้างขวาง 4. งานออกแบบและวางแผนการตลาดและการขายสินค้าทางออนไลน์และออฟไลน์ทั้งในประเทศและต่างประเทศและช่องทาง U2T market Place platformดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีในด้านการผลิตและบริการ
  • การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics)และการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้อมูลชุมชนขนาดใหญ่ (Thailand Community Big Data : TCD) ในพื้นที่ โดยดำเนินการจัดทำข้อมูล TCD ให้สมบูรณ์ การปรับปรุงและพัฒนา Platform ให้ตอบสนองการใช้ประโยชน์ในหลากหลายมิติ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ รวมทั้งการถ่ายทอดการใช้ประโยชน์จาก TCD ให้ผู้ที่จะใช้ประโยชน์ทางภาครัฐ เอกชน และชุมชน

ผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการกิจกรรมในการดำเนินการ

  1. เชิงปริมาณ
  • เกิดจากการจ้างงานประชาชนทั่วไปและบัณฑิตจบใหม่เพื่อดำเนินกิจกรรมยกระดับเศรษฐกิจและสังคม จำนวน 8 คน
  • ชุมชนได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปรับปรุงพัฒนาส่งเสริมและผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการด้าน BCG ของชุมชนออกสู่ตลาดอย่างเป็นทางการและยั่งยืนอย่างน้อย 20 ครัวเรือน
  • ชุมชนสามารถเพิ่มรายได้ร้อยละ 5 และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 15 ของต้นทุนต่อปี
  • เกิดผลผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีมาตรฐานและอัตลักษณ์ อย่างน้อย 2 ผลิตภัณฑ์
  1. เชิงคุณภาพ
  • เสริมศักยภาพของบุคลากรที่มาทำงานในโครงการภายใต้พี่เลี้ยงนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย
  • เกิดการพัฒนาอาชีพหลักในพื้นที่ เพิ่มรายได้และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยฝีมือของบุคลากร
  • เพิ่มอาชีพเสริมช่วยให้ชุมชนและคนในพื้นที่มีรายได้เพิ่ม
  • ชุมชนมีฐานข้อมูลในการศึกษาง่ายต่อการพัฒนาชุมชนในด้านอื่นๆ
  • เกิดการเรียนรู้ให้แก่เยาวชนในพื้นที่และมีการพัฒนาเยาวชนให้ความห่วงแหนบ้านเกิด
  • เกิดกลยุทธ์นวัตกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน
  • เกิดการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ด้วยแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการสร้างพัฒนาอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์เศรษฐกิจ BCG
Facebook Comments Box
Scroll to Top