หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล

Information technology and

digital innovation

ชื่อหลักสูตร มคอ 2

ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล
ภาษาอังกฤษ:  Information Technology and Digital Innovation

ชื่อคุณวุฒิ

ภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล)
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Information Technology and Digital Innovation)

ปรัชญา

       หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย มีปรัชญาในการมุ่งเน้นผลิตนักเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพ สามารถทำงานได้จริงในสาขาอาชีพ เป้าหมายของหลักสูตร โดยมีความรู้ทั้งในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและความรู้ด้านการจัดการ สามารถบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติจริง โดยเน้นการเรียนไปในแนวทางด้านการพัฒนาโปรแกรม ประยุกต์ทั้งบนเว็บและอุปกรณ์เคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังมุ่งหวังให้บัณฑิตต้องเป็นผู้ที่มีจริยธรรมในการ พัฒนาและใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอีกด้วย
        ทางหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและ นวัตกรรมดิจิทัลได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถใน เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีของประเทศไทย ตลอดจนรองรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในยุคเศรษฐกิจใหม่ เพื่อให้ประเทศไทยมีความ มั่นคง คนในชาติมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมั่งคั่ง และสามารถพัฒนาประเทศไปได้อย่างยั่งยืน

ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัย

          มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นมหาวิทยาลัยคุณภาพ เพื่อพัฒนาบัณฑิตที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง ภายใต้กรอบแนวคิด “เก่งวิชาการ เชี่ยวชาญการปฏิบัติ” (Academic Excellence with Professional Skills)

          เก่งวิชาการ (Academic Excellence) เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรอบมาตรฐานวิชาชีพระดับอุดมศึกษา The United Kingdom Professional Standards Frameworks (UKPSF) เพื่อให้บัณฑิตมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์การคิดสังเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่

          เชี่ยวชาญการปฏิบัติ (Professional Skills) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีการฝึกปฏิบัติการฝึกภาคสนาม การจัดสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางาน (Cooperative and Work Integrated Education : CWIE)

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

  1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
  2. มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
  3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
  4. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
  5. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
  6. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
  7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
  1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
  2. สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
  3. สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกำหนด
  4. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์
  5. รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
  6. มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
  7. มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
  8. สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  1. คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
  2. สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
  3. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
  4. สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
  1. สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
  3. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
  4. มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
  5. สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
  6. มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องอย่างเหมาะสม
  1. มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
  2. สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
  3. สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
  4. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม โดยเฉพาะทางด้านที่เกี่ยวข้องการทำงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและความรู้เกี่ยวกับ กระบวนการในการพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยสามารถนําความรู้มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้จริง
  3. เพื่อสร้างบัณฑิตที่สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะเพื่อใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีความรู้และประสบการณ์จริง สามารถทํางานได้จริงในสาขาอาชีพที่เป็นเป้าหมายของหลักสูตร
  4. เพื่อพัฒนาบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความคิดก้าวทันโลก รู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ เหมาะสมสําหรับการทํางานต่างๆ เปิดกว้างต่อความคิดใหม่ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม วิเคราะห์และสังเคราะห์สู่การปฏิบัติที่เหมาะสม
  5. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะในการสื่อสารและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สามารถ ทำงานเป็นทีมและปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
ITD เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล
ITD เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล

แนวทางการประกอบอาชีพ

  1. เว็บโปรแกรมเมอร์
  2. โมบายโปรแกรมเมอร์
  3. นักพัฒนาโปรแกรมแบบฟูลสแตก
  4. นักพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนคลาวด์
  5. นักพัฒนาโปรแกรมส่วนหน้า/ส่วนหลัง
  6. นักวิเคราะห์ระบบ
  7. นักทดสอบระบบ
  8. นักวิชาการคอมพิวเตอร์
  9. ผู้ประกอบการเทคโนโลยีสารสนเทศ
  10.  

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 15,800.- บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 189,600.- บาท
ITD เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 164 หน่วยกิต

(1) กลุ่มภาษา 20 หน่วยกิต
(2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 8 หน่วยกิต
(3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 8 หน่วยกิต
(4) กลุ่มวิชาบูรณาการ 4 หน่วยกิต
(5) กลุ่มสารสนเทศ 4 หน่วยกิต
(1) กลุ่มวิชาแกน 12 หน่วยกิต
(2) กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน 63 หน่วยกิต
(3) กลุ่มวิชาเลือก 24 หน่วยกิต
(4) กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา 17 หน่วยกิต
ITD เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล

สถาบันที่อนุมัติและทำการสอน

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ITD เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล

ผ่านการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย

วันที่ 11 สิงหาคม 2561

ITD เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา

ITD เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล

แนวทางการศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

Scroll to Top