Info

หลักสูตรนวัตกรรมสารสนเทศทางการแพทย์

Innovation of medical informatics

ชื่อหลักสูตร มคอ 2

ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขานวัตกรรมสารสนเทศทางการแพทย์
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science Program in Innovation of Medical Informatics
 

ชื่อคุณวุฒิ

ภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (นวัตกรรมสารสนเทศทางการแพทย์)
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Innovation of Medical Informatics)

ปรัชญา

          หลักสูตรนวัตกรรมสารสนเทศทางการแพทย์ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตด้านสารสนเทศทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ สามารถทำงานได้จริงในสาขาอาชีพเป้าหมายของหลักสูตร มีคุณธรรมจริยธรรม โดยมีความรู้ทั้งในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและความรู้ด้านการแพทย์ สามารถบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติจริง เน้นการเรียนการสอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการแพทย์

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

  1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
  2. มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
  3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
  4. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
  5. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
  6. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
  7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
  1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
  2. สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
  3. สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกำหนด
  4. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์
  5. รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
  6. มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
  7. มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
  8. สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  1. คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
  2. สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
  3. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
  4. สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
  1. สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
  3. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
  4. มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
  5. สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
  6. มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
  7. อย่างเหมาะสม
  1. มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
  2. สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
  3. สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
  4. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม

วัตถุประสงค์

  1. เป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม โดยเฉพาะทางด้านที่เกี่ยวข้องการใช้งานสารสนเทศทางการแพทย์
  2. เป็นบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะทางด้านสารสนเทศทางการแพทย์และความรู้เกี่ยวกับ กระบวนการของสารสนเทศทางการแพทย์ โดยสามารถนําความรู้มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้จริง
  3. เป็นบัณฑิตที่สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะเพื่อใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการแพทย์และวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ได้อย่างเหมาะสม
  4. เป็นบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความคิดก้าวทันโลก รู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ เหมาะสมสําหรับการทํางานต่างๆ เปิดกว้างต่อความคิดใหม่ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม วิเคราะห์และสังเคราะห์สู่การปฏิบัติที่เหมาะสม
  5. เป็นบัณฑิตที่มีทักษะในการสื่อสารและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สามารถ ทำงานเป็นทีมและปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
IMI
ITD เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล

แนวทางการประกอบอาชีพ

  1. นักพัฒนาระบบสารสนเทศทางการแพทย์
  2. นักวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์
  3. นักวิชาการคอมพิวเตอร์
  4. นักวิเคราะห์ระบบ
  5. โปรแกรมเมอร์
  6. นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 14,800.- บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 177,600.- บาท
ITD เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 167 หน่วยกิต

(1) กลุ่มภาษา 20 หน่วยกิต
(2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 8 หน่วยกิต
(3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 8 หน่วยกิต
(4) กลุ่มวิชาบูรณาการ 4 หน่วยกิต
(5) กลุ่มสารสนเทศ 4 หน่วยกิต
(1) กลุ่มวิชาแกน12 หน่วยกิต
(2) กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน72 หน่วยกิต
(3) กลุ่มวิชาเลือก18 หน่วยกิต
(4) กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา17 หน่วยกิต
ITD เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล

สถาบันที่อนุมัติและทำการสอน

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ITD เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล

ผ่านการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย

วันที่ 11 มิถุนายน 2562

ITD เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล

เกณฑ์การรับนักศึกษา

ITD เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา

ITD เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล

แนวทางการศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในสาขาคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องได้

Scroll to Top