หลักสูตรดิจิทัลคอนเทนต์และสื่อ
Digital Content and Media
ชื่อหลักสูตร มคอ 2
ภาษาไทย: หลักสูตรสารสนเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดิจิทัลคอนเทนต์และสื่อ
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Information Science Program in Digital Content and Media
ชื่อคุณวุฒิ
ภาษาไทย: สารสนเทศศาสตรบัณฑิต (ดิจิทัลคอนเทนต์และสื่อ)
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Information Science (Digital Content and Media)
ปรัชญา
สาขาวิชาดิจิทัลคอนเทนต์และสื่อ หลักสูตรดิจิทัลคอนเทนต์และสื่อ (หลักสูตรพันธุ์ใหม่ พ.ศ. 2563) มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถและมีสมรรถนะด้านดิจิทัลคอนเทนต์ในภาคอุตสาหกรรม โดยเน้นสามองค์ประกอบหลักคือ ดิจิทัลคอนเทนต์ เทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัล และการจัดการสื่อดิจิทัล มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้ สหกิจศึกษาและการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้บัณฑิตมีความพร้อมสำหรับการทำงานในองค์กรดิจิทัลและภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดิจิทัล การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาและการพัฒนาความรู้ใน วิชาชีพสารสนเทศศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ และจรรยาบรรณตามหลักวิชาการและวิชาชีพ เข้าใจในสถานการณ์ของโลกและสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคมและตลาดงานในศตวรรษที่ 21 ตลอดจน ตามแนวโน้มและทิศทางการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกําลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการ ปฏิรูปอุดมศึกษาไทยตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลและประเทศไทย 4.0 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรเมื่อสำเร็จการศึกษา บัณฑิตสามารถ
-
ผลิตดิจิทัลคอนเทนต์ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงานได้
-
ออกแบบและพัฒนาระบบจัดการดิจิทัลคอนเทนต์ตามมาตรฐานสากลได้ (Digital content system)
-
สร้างระบบบริการ (service system) ด้านดิจิทัลคอลเล็กชันและสื่อการเรียนรู้ (Instructional media) ที่บูรณาการและเชื่อมโยงกันได้
-
สร้างแนวคิดทางธุรกิจ (business model) เพื่อการเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneurship) ด้านดิจิทัลคอนเทนต์ได้
วัตถุประสงค์
- มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและมีสมรรถนะด้านผลิตดิจิทัลคอนเทนต์ เพื่ออุตสาหกรรมดิจิทัล โดยเฉพาะด้านดิจิทัลคอนเทนต์ เทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัล และออกแบบและพัฒนาสื่อดิจิทัล
- มีความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ในสาขาวิชาดิจิทัลคอนเทนต์ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สามารถปฏิบัติงานในหน่วยงานภาคอุตสาหกรรมแบบครบวงจรโดยใช้ Work Integrated Learning (WIL) และ Project Based Learning
- มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์คอนเทนต์และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ด้านการสื่อสาร การวิจัย การจัดการสื่อสารสนเทศสมัยใหม่ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัล ได้เป็นอย่างดี
- มีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ และจรรยาบรรณทางวิชาการ และวิชาชีพ


แนวทางการประกอบอาชีพ
- ผู้พัฒนาเนื้อหาดิจิทัล (Digital Content Creator)
- ผู้เชี่ยวชาญการผลิตคอนเทนต์ (Content Specialist)
- ผู้จัดการสารสนเทศบนเว็บ (Web Content Manager)
- นักออกแบบและพัฒนาดิจิทัลคอลเล็กชัน (Digital Collection Developer)
- นักออกแบบเว็บไซต์ (Web Designer)
- ผู้พัฒนาสื่อดิจิทัล (Digital Media Developer )
- นักพัฒนาระบบการจัดการห้องสมุด (Library Management System Developer)
ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 14,800.- บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 177,600.- บาท

โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 159 หน่วยกิต
(1) กลุ่มภาษา | 20 หน่วยกิต | |
(2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | 8 หน่วยกิต | |
(3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | 4 หน่วยกิต | |
(4) กลุ่มวิชาบูรณาการ | 4 หน่วยกิต | |
(5) กลุ่มสารสนเทศ | 4 หน่วยกิต |
(1) มอดูลการรู้ดิจิทัล | 23 หน่วยกิต | |
(2) มอดูลระบบการจัดการความรู้ | 24 หน่วยกิต | |
(3) มอดูลการสร้างดิจิทัลคอนเทนต์ | 19 หน่วยกิต | |
(4) มอดูลการจัดการบริการดิจิทัล | 20 หน่วยกิต | |
(5) มอดูลการจัดการดิจิทัลคอลเล็กชัน | 18 หน่วยกิต | |
(6) มอดูลการเป็นผู้ประกอบการด้านดิจิทัลคอนเทนต์ | 22 หน่วยกิต |

สถาบันที่อนุมัติและทำการสอน
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ผ่านการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย
วันที่ 11 สิงหาคม 2561

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา

แนวทางการศึกษาต่อ
สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ