ชื่อหลักสูตร มคอ 2
ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขานวัตกรรมสารสนเทศทางการแพทย์
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science Program in Innovation of Medical Informatics
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (นวัตกรรมสารสนเทศทางการแพทย์)
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Innovation of Medical Informatics)
สถาบันที่อนุมัติและทำการสอน
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ผ่านการรับรองคุณภาพจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
- ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
- มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
- มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
- เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
- สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
- มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
- มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
- สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
- สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกำหนด
- สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์
- รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
- มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
- มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
- สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
- สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
- สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
- สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
- สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
- สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
- มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
- สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
- มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
- อย่างเหมาะสม
- มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
- สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
- สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
- สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
ผ่านการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2561
ปรัชญา / วัตถุประสงค์
หลักสูตรนวัตกรรมสารสนเทศทางการแพทย์ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตด้านสารสนเทศทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ สามารถทำงานได้จริงในสาขาอาชีพเป้าหมายของหลักสูตร มีคุณธรรมจริยธรรม โดยมีความรู้ทั้งในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและความรู้ด้านการแพทย์ สามารถบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติจริง เน้นการเรียนการสอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการแพทย์
คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร
- เป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม โดยเฉพาะทางด้านที่เกี่ยวข้องการใช้งานสารสนเทศทางการแพทย์
- เป็นบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะทางด้านสารสนเทศทางการแพทย์และความรู้เกี่ยวกับ กระบวนการของสารสนเทศทางการแพทย์ โดยสามารถนําความรู้มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้จริง
- เป็นบัณฑิตที่สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะเพื่อใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการแพทย์และวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ได้อย่างเหมาะสม
- เป็นบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความคิดก้าวทันโลก รู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ เหมาะสมสําหรับการทํางานต่างๆ เปิดกว้างต่อความคิดใหม่ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม วิเคราะห์และสังเคราะห์สู่การปฏิบัติที่เหมาะสม
- เป็นบัณฑิตที่มีทักษะในการสื่อสารและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สามารถ ทำงานเป็นทีมและปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
แนวทางประกอบอาชีพ
1) นักพัฒนาระบบสารสนเทศทางการแพทย์
2) นักวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์
3) นักวิชาการคอมพิวเตอร์
4) นักวิเคราะห์ระบบ
5) โปรแกรมเมอร์
6) นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวทางการศึกษาต่อ
สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในสาขาคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องได้
ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 14,800.- บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 177,600.- บาท
โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 167 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี) | |||
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 40 หน่วยกิต | ||
(1) กลุ่มภาษา | 20 หน่วยกิต | ||
(2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร | 8 หน่วยกิต | ||
(3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร | 8 หน่วยกิต | ||
(4) กลุ่มวิชาบูรณาการ | 4 หน่วยกิต | ||
(5) กลุ่มสารสนเทศ | 4* หน่วยกิต | ||
หมายเหตุ * ไม่นับหน่วยกิตในโครงสร้างหลักสูตร | |||
2. หมวดวิชาเฉพาะ | 119 หน่วยกิต | ||
(1) กลุ่มวิชาแกน | 12 หน่วยกิต | ||
(2) กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน | 72 หน่วยกิต | ||
(3) กลุ่มวิชาเลือก | 18 หน่วยกิต | ||
(4) กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา | 17 หน่วยกิต | ||
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | 8 หน่วยกิต |
Facebook Comments Box