หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ดิจิทัล

ชื่อหลักสูตร  มคอ 2

ภาษาไทย: หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ดิจิทัล
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Communication Arts Program in Digital Communication Arts

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: นิเทศศาสตรบัณฑิต (นิเทศศาสตร์ดิจิทัล)
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Communication Arts (Digital Communication Arts)

ปรัชญา / วัตถุประสงค์

 ปรัชญาหลักสูตร คือ “หลักสูตรผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ด้านนิเทศศาสตร์ในยุคดิจิทัล” กล่าวคือ บัณฑิตสามารถนำความรู้ที่ได้ศึกษาในด้านต่างๆ ของนิเทศศาสตร์ ทั้งด้านสื่อสารมวลชน และด้านสื่อสารการตลาด ซึ่งจะทำให้บัณฑิตเป็นผู้รอบรู้ มีการเรียนการสอนด้วยสื่อสมัยใหม่ บนพื้นฐานขององค์ความรู้ด้านสื่อและทฤษฎีด้านการสื่อสารการตลาด ดังนั้น บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาไปจะสามารถเข้าใจ และประยุกต์ใช้ความรู้กับการทำงานด้านสื่อสารมวลชน การสื่อสารในธุรกิจและสื่อสารในองค์กรได้

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1 ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะทั้งทางด้านกระบวนการผลิตสื่อมวลชน สื่อสมัยใหม่ และทางด้านการใช้สื่อเพื่อการสื่อสารการตลาดในธุรกิจ

2 ผลิตบัณฑิตให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะที่ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงในโลกของการสื่อสารที่บูรณาการสื่อประเภทต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน

3 พัฒนาบัณฑิตให้มีความพร้อมในการเข้าสู่โลกวิชาชีพ โดยเน้นให้มีความรู้คู่การปฏิบัติและฝึกใช้เครื่องมือที่มีมาตรฐานเดียวกันกับอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนภายใต้สถานการณ์จริง

4 ผลิตบัณฑิตให้เป็นนักนิเทศศาสตร์ที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อมวลชน

คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพในการปฏิบัติงานจริงทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชน ด้วยทักษะทางด้านวิชาชีพนิเทศศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างมีคุณธรรมและสอดคล้องกับจรรยาวิชาชีพ เมื่อประกอบกับคุณสมบัติด้านความรับผิดชอบ ความมีวินัย การทำงานเป็นทีม ความใฝ่รู้ในการพัฒนาและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาแล้ว จะส่งผลให้เป็นบัณฑิตที่ประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดงานมากยิ่งขึ้น

แนวทางประกอบอาชีพ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1) ผู้ประกอบการธุรกิจสื่อ
2) ผู้ผลิตเนื้อหาบนสื่อออนไลน์
3) ผู้ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงและรายการวิทยุโทรทัศน์
4) กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์และนิตยสาร
5) ผู้สื่อข่าว
6) ช่างภาพ
7) ผู้ประกาศและผู้ดำเนินรายการ
8) นักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์
9) ผู้ออกแบบสื่อ
10) นักสื่อสารมวลชนในทุกแขนง

แนวทางการศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขานิเทศศาสตร์ การสื่อสารมวลชน การสื่อสารการตลาด หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 14,800.- บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อปีการศึกษา 44,400.- บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 177,600.- บาท

โครงสร้างหลักสูตร  แผนการศึกษา

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 169 หน่วยกิต 
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป40 หน่วยกิต
 (1) กลุ่มวิชาภาษา20 หน่วยกิต
 (2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์8 หน่วยกิต
 (3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์8 หน่วยกิต
 (4) กลุ่มวิชาบูรณาการ    4 หน่วยกิต
 (5) กลุ่มวิชาสารสนเทศ4* หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ121 หน่วยกิต
 (1) กลุ่มวิชาแกน4 หน่วยกิต
 (2) กลุ่มวิชาเอก72 หน่วยกิต
 (3) กลุ่มวิชาชีพเลือก28 หน่วยกิต
 (4) กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา17 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี8 หน่วยกิต

ช่องทางการติดต่อ

นิเทศศาสตร์ดิจิทัลcommunication.arts.wu 

Bachelor of Communication Arts (Digital Communication Arts)

Scroll to Top