ชื่อหลักสูตร มคอ 2
ภาษาไทย: หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ดิจิทัล
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Communication Arts Program in Digital Communication Arts
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย: นิเทศศาสตรบัณฑิต (นิเทศศาสตร์ดิจิทัล)
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Communication Arts (Digital Communication Arts)
ปรัชญา / วัตถุประสงค์
1 ปรัชญาและความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรนิเทศศาสตร์ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นหลักสูตรการเรียน การสอนที่เน้นพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทั้งด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นนักนิเทศศาสตร์ที่ทันสมัย มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในกระบวนการผลิตสื่อหลากหลายแขนง ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่ออินเทอร์เน็ต และสื่ออื่นๆ ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะที่ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงในโลกของการสื่อสารที่หลอมรวมสื่อประเภทต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน (Convergence Media) และหลักสูตรยังมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมในการเข้าสู่โลกวิชาชีพ โดยผู้เรียนจะได้ฝึกปฏิบัติด้วยเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานเดียวกันกับอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชน
นอกจากนี้หลักสูตรยังเตรียมผู้เรียนให้เป็นนักนิเทศศาสตร์ที่ตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ สามารถนำความรู้ไปพัฒนาองค์กร ชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
2.1 ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในกระบวนการผลิตสื่อหลากหลายแขนง ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อวิทยุโทรทัศน์ และสื่ออื่นๆ รวมทั้งการออกแบบและใช้สื่อดังกล่าวในแบบออนไลน์
2.2 ผลิตบัณฑิตให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะที่ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงในโลกของการสื่อสารที่หลอมรวมสื่อประเภทต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน
2.3 พัฒนาบัณฑิตให้มีความพร้อมในการเข้าสู่โลกวิชาชีพ โดยเน้นให้มีความรู้คู่การปฏิบัติและฝึกใช้เครื่องมือที่มีมาตรฐานเดียวกันกับอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชน
2.4 ผลิตบัณฑิตให้เป็นนักนิเทศศาสตร์ที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อมวลชน
คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพในการปฏิบัติงานจริงทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชน ด้วยทักษะทางด้านวิชาชีพนิเทศศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างมีคุณธรรมและสอดคล้องกับจรรยาวิชาชีพ เมื่อประกอบกับคุณสมบัติด้านความรับผิดชอบ ความมีวินัย การทำงานเป็นทีม ความใฝ่รู้ในการพัฒนาและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาแล้ว จะส่งผลให้เป็นบัณฑิตที่ประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดงานมากยิ่งขึ้น
แนวทางประกอบอาชีพ
บัณฑิตหลักสูตรนิเทศศาสตร์ สามารถทำงานได้ทั้งในภาครัฐบาล เอกชน หรือ อาชีพอิสระ สามารถประกอบอาชีพเป็นนักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์ ผู้ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงและรายการวิทยุโทรทัศน์ กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ผู้สื่อข่าว ช่างภาพ ผู้ประกาศและผู้ดำเนินรายการ ผู้ผลิตเนื้อหาบนสื่อออนไลน์ผู้ประกอบการธุรกิจสื่อ ตลอดจนนักสื่อสารมวลชนในทุกแขนง
แนวทางการศึกษาต่อ
สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขานิเทศศาสตร์ การสื่อสารมวลชน การสื่อสารการตลาด หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ
ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 13,200.- บาท
โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 170 หน่วยกิต | |||
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 40 หน่วยกิต | ||
(1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร | 20 หน่วยกิต | ||
(2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | 12 หน่วยกิต | ||
(3) กลุ่มวิชาสุขพลานามัย | 4 หน่วยกิต | ||
(4) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | 4 หน่วยกิต | ||
(5) กลุ่มวิชาสารสนเทศ | 4* หน่วยกิต | ||
2. หมวดวิชาเฉพาะ | 122 หน่วยกิต | ||
(1) กลุ่มวิชาแกน | 79 หน่วยกิต | ||
(2) กลุ่มวิชาเอก | 28 หน่วยกิต | ||
(3) กลุ่มวิชาชีพเลือก | 18 หน่วยกิต | ||
(4) กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา | 8 หน่วยกิต | ||
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | 8 หน่วยกิต |
ช่องทางการติดต่อ
![]() | ![]() |