Info

โครงการการประยุกต์ใช้ระบบ Augmented Reality

เพื่อจำลองโบราณสถานโมคลาน ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชน

ทุนวิจัย: งบสนับสนุนการบูรณาการพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

ผู้วิจัย:  
  • อ.ดร. ศศิธร รัตนรุ่งโรจน์ (หัวหน้าโครงการ)
    อ.ดร. วรัญญู วรชาติ
วัตถุประสงค์:
  1. เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนโมคลาน
  2. เพื่อพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนโมคลาน
  3. เพื่อส่งเสริมพันธกิจสัมพันธ์สังคมของมหาวิทยาลัยกับชุมชนโมคลาน

กระบวนการในการดำเนินงาน

MTA
1. ค้นหาความต้องการของชุมชน
MTA
2. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
3. ลงพื้นที่สำรวจพร้อมผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้ในท้องที่
MTA
4. รวบรวมข้อมูลและออกแบบสิ่งก่อสร้างในโบราณสถานตามหลักฐานที่ได้มา โดยเน้นความถูกต้องของข้อมูล
MTA
5. สร้างโมเดล 3 มิติ
MTA
6. ลงพื้นที่เพื่อกำหนดตำแหน่งสิ่งก่อสร้าง
7. นำโมเดล 3 มิติมาวางในตำแหน่งที่กำหนดไว้
8. ปรับพื้นผิวของโมเดลตามข้อมูลจริง
MTA
9. สร้าง Mobile application พร้อมเพิ่มเติมข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้งาน
MTA
10. นำ application ไปทดสอบในพื้นที่
ข้อมูลชุมชน:
            ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ของตำบลโมคลานเป็นไทยมุสลิมร้อยละ 70 อีกร้อยละ 30 เป็นชาวไทยพุทธ ตำบลโมคลานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 หมู่บ้าน ประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโมคลาน ดังนี้
  • หมู่ 1: มูลไส้เดือน ต้นอ่อนทานตะวัน (ชุมชนต้นแบบ)
  • หมู่ 2: เครื่องแกงสมุนไพร
  • หมู่ 5: เขื่อนฉัตรไชย ฝายคลองชุมขลัง (งานลอยกระทง) กลุ่มแพะ
  • หมู่ 6: กลุ่มออมทรัพย์ (ดีเด่นจังหวัด) สมุนไพรหมอเสริฐ
  • หมู่ 7: ข้าวซ้อมมือ ผ้ามัดย้อม มะพร้าวสกัดเย็น ฝายวัดป่าวดี
  • หมู่ 8: ร้อยลูกปัด สมุนไพรบ้านยายเอิบ เย็บจากใบสาคู
  • หมู่ 9: จักสานครบวงจร
  • หมู่ 10: กรงนกดีเด่นประเทศไทย
  • หมู่ 11: ปาล์ม สุสานประวัติศาสตร์ปังลิมอเจ๊ะเต๊ะ น้ำตาลพร้าว สถาบันการเงินดีเด่น โบราณสถานวัดโมคลาน
  • หมู่ 12: งานประจำปีวัดโมคลาน
  • หมู่ 13: เศรษฐกิจพอเพียง จิ้งหรีด
  • หมู่ 14: นคราฟาร์ม มะละกอ
  • หมู่ 15: ผักปลอดสารพิษ น้ำมันนวด
ผลผลิต:
  1. โปรแกรมการท่องเที่ยวชุมชนโมคลาน 1 โปรแกรม (http://tcpall.com/we/?product=โปรแกรมทัศนศึกษาแหล่งโ)
  2. สื่อท่องเที่ยวชุมชนโมคลานแบบ Augmented Reality 1 ชุด
  3. เครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนโมคลาน 1 เครือข่าย
ต้นแบบสื่อท่องเที่ยว Augmented Reality:
การเผยแพร่ผลงาน:
การนำเสนอผลงานในรูปแบบโปสเตอร์ งานประชุมวิชาการระดับชาติ สารสนเทศศาสตร์วิชาการ 2019 วันที่ 25-26 มิถุนายน 2562 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
อ้างอิง:
  1. ปรีชา นุ่นสุข, ชุมชนโบราณโมคลาน : บันทึกหน้าต้นของประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช, 2541.
  2. Rattanarungrot, S., White, M., Patoli, Z., & Pascu, T. (2014, June). The Application of Augmented Reality for Reanimating Cultural Heritage. In International Conference on Virtual, Augmented and Mixed Reality (pp. 85-95). Springer, Cham.
ขอขอบพระคุณ ดร.สิรภัทร ลิ่มไพบูลย์ ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลและช่วยเหลือในการลงพื้นที่