สารสนเทศศาสตรบัณฑิต สาขาดิจิทัลคอนเทนต์และสื่อ

สารสนเทศศาสตรบัณฑิต สาขาดิจิทัลคอนเทนต์และสื่อ

ปรัชญา

          สาขาวิชาดิจิทัลคอนเทนต์และสื่อ หลักสูตรดิจิทัลคอนเทนต์และสื่อ (หลักสูตรพันธุ์ใหม่ พ.ศ. 2563) มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถและมีสมรรถนะ ด้านดิจิทัลคอนเทนต์ในภาคอุตสาหกรรม โดยเน้น 3 องค์ประกอบหลักคือ ดิจิทัลคอนเทนต์ เทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัล และการจัดการสื่อดิจิทัล มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้ สหกิจศึกษาและการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้บัณฑิตมีความพร้อมสำหรับการทำงานในองค์กรดิจิทัลและภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดิจิทัล การวิเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาและการพัฒนาความรู้ใน วิชาชีพสารสนเทศศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ และจรรยาบรรณตามหลักวิชาการและวิชาชีพ เข้าใจในสถานการณ์ของโลกและสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคมและตลาดงานในศตวรรษที่ 21 ตลอดจน ตามแนวโน้มและทิศทางการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกําลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการ ปฏิรูปอุดมศึกษาไทยตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลและประเทศไทย 4.0 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)

วัตถุประสงค์

  1. มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและมีสมรรถนะด้านผลิตดิจิทัลคอนเทนต์ เพื่ออุตสาหกรรมดิจิทัล โดยเฉพาะด้านดิจิทัลคอนเทนต์ เทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัล และออกแบบและพัฒนาสื่อดิจิทัล
  2. มีความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ในสาขาวิชาดิจิทัลคอนเทนต์ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สามารถปฏิบัติงานในหน่วยงานภาคอุตสาหกรรมแบบครบวงจรโดยใช้ Work Integrated Learning (WIL) และ Project Based Learning
  3. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์คอนเทนต์และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ด้านการสื่อสาร การวิจัย การจัดการสื่อสารสนเทศสมัยใหม่ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัล ได้เป็นอย่างดี
  4. มีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ และจรรยาบรรณทางวิชาการ และวิชาชีพ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

  1. ผลิตดิจิทัลคอนเทนต์ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงานได้
  2. ออกแบบและพัฒนาระบบจัดการดิจิทัลคอนเทนต์ตามมาตรฐานสากลได้ (Digital content system)
  3. สร้างระบบบริการ (service system) ด้านดิจิทัลคอลเล็กชันและสื่อการเรียนรู้ (Instructional media) ที่บูรณาการและเชื่อมโยงกันได้
  4. สร้างแนวคิดทางธุรกิจ (business model) เพื่อการเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneurship) ด้านดิจิทัลคอนเทนต์ได้

แนวทางการประกอบอาชีพ

  1. ผู้พัฒนาเนื้อหาดิจิทัล (Digital Content Creator)
  2. ผู้เชี่ยวชาญการผลิตคอนเทนต์ (Content Specialist)
  3. ผู้จัดการสารสนเทศบนเว็บ (Web Content Manager)
  4. นักออกแบบและพัฒนาดิจิทัลคอลเล็กชัน (Digital Collection Developer)
  5. นักออกแบบเว็บไซต์ (Web Designer)
  6. ผู้พัฒนาสื่อดิจิทัล (Digital Media Developer)
  7. นักพัฒนาระบบการจัดการห้องสมุด (Library Management System Developer)

ค่าธรรมเนียม

  1. ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 14,800 บาท
  2. ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 177,600 บาท

โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 159 หน่วยกิต

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 40 หน่วยกิต 

  • กลุ่มภาษา 20 หน่วยกิต
  • กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 8 หน่วยกิต
  • กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 4 หน่วยกิต
  • กลุ่มวิชาบูรณาการ 4 หน่วยกิต
  • กลุ่มสารสนเทศ 4
    •  

หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะ 126 หน่วยกิต

  • มอดูลการรู้ดิจิทัล 23 หน่วยกิต
  • มอดูลระบบการจัดการความรู้ 24 หน่วยกิต
  • มอดูลการสร้างดิจิทัลคอนเทนต์ 19 หน่วยกิต
  • มอดูลการจัดการบริการดิจิทัล 20 หน่วยกิต
  • มอดูลการจัดการดิจิทัลคอลเล็กชัน 18 หน่วยกิต
  • มอดูลการเป็นผู้ประกอบการด้านดิจิทัลคอนเทนต์ 22 หน่วยกิต
    •  

หมวดวิชาเลือกเสรี 8 หน่วยกิต

หมวดสหกิจศึกษา 25 หน่วยกิต

 

ช่องทางการติดต่อ

หลักสูตรการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

โทร: 075-672204

สถาบันที่อนุมัติและทำการสอน

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา

ผ่านการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย

วันที่ 11 สิงหาคม 2561

แนวทางการศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

เกณฑ์การรับนักศึกษา

การกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิการศึกษา

ภาพกิจกรรมของหลักสูตร