วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศอัจฉริยะ

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศอัจฉริยะ

ปรัชญา

           มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมือสมัยใหม่ทางด้านปัญญาประดิษฐ์และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศอัจฉริยะที่สอดรับกับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมไทย ตลอดจนรองรับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตทางด้านการพัฒนาแอปพลิเคชันโดยการใช้เครื่องมือสมัยใหม่ทางด้านปัญญาประดิษฐ์และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่
  3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีพื้นฐานเพื่อการต่อยอดในการสร้างนวัตกรรมและงานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองการเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัย
  4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีผลลัพธ์การเรียนรู้ 4 ด้านตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565

แนวทางการประกอบอาชีพ

  1. วิศวกรปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineer/ Machine Learning Engineer)
  2. นักพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์
    (AI System Developer)
  3. นักวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI Researcher)
  4. นักพัฒนาโปรแกรมส่วนหน้า
    (Frontend Developer)
  5. นักพัฒนาโปรแกรมส่วนหลัง
    (Backend Developer)
  6. นักพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนมือถือ (Mobile Developer)
  7. นักพัฒนาโปรแกรมแบบครบวงจร (Full Stack Developer)
  8. นักวิเคราะห์ข้อมูล/ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Analyst/Data Scientist)
  9. นักวิชาการคอมพิวเตอร์
    (Computer Technical Officer)

ค่าธรรมเนียม

  1. ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 25,000 บาท

  2. ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 200,000 บาท

โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 164 หน่วยกิต

หมวดวิชาศึกษาทั่วไปไม่น้อยกว่า 26 หน่วยกิต

หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะไม่น้อยกว่า 92 หน่วยกิต

  • กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน 79 หน่วยกิต
  • กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา 13 หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

ช่องทางการติดต่อ

หลักสูตรการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

โทร: 075-672204

สถาบันที่อนุมัติและทำการสอน

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา

ผ่านการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย

วันที่ 9 ธันวาคม 2566

แนวทางการศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

ภาพกิจกรรมของหลักสูตร