วันที่ 12 สิงหาคม 2567 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ฟารีดา เจะเอะ ผู้ช่วยอธิการบดี อาจารย์ ดร.นภารัตน์ ชูเกิด อาจารย์ธีรวัฒน์ กล่าวเกลี้ยง และนักศึกษาจากสำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ ลงพื้นที่ ต.ฉลอง อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช เพื่อถ่ายทำวิดีโอสัมภาษณ์และบันทึกการขับร้อง “เพลงคำตัก” ซึ่งเป็นบทพลงที่ชาวอำเภอสิชลใช้ในการขับร้องเพื่อตักเตือนลูกหลานในเรื่องต่างๆ อันนำไปสู่การประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในศิลธรรมอันดีงาม พร้อมสอดแทรกข้อคิดในการดำรงชีวิตไว้ในบทเพลง สำหรับการสัมภาษณ์นี้มีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
ประวัติความเป็นมาของเพลงคำตัก
สิ่งสำคัญที่สอดแทรกในเนื้อเพลง
ประเพณีการสืบสานเนื้อเพลง
ความรู้เกี่ยวในการอนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาถิ่น
สำหรับคลิปวิดีโอสัมภาษณ์นี้ มีการขับร้องเพลงคำตักโดยศิลปินพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงในอำเภอสิชน เช่น อาจารย์หนังสามารถ นายกสมาคมศิลปินพื้นบ้านจังหวัดนครศรีธรรมราช, อาจารย์หนังวีระ งามขำ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอสิชล พร้อมทั้งปรมาจารย์ด้านศิลปะท้องถิ่นอีกหลายแขนง ตลอดจนคณะศิลปินพื้นบ้านรุ่นใหม่ และนักเรียน-นักศึกษา ในเขตพื้นที่ตำบลฉลอง อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ดำเนินการรวบรวบคลิปวิดีโอไว้ในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดเก็บและเผยแพร่ภูมิปัญญา เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้โครงการ “การจัดการทุนทางวัฒนธรรมฐานความเชื่อโดยรอบสันทรายโบราณเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอสิชน จังหวัดนครศรีธรรมราช