นักศึกษาหลักสูตรดิจิทัลคอนเทนต์และสื่อ ออกเรียนรู้นอกสถานที่เพื่อส่งเสริมการจัดการสารสนเทศทางวัฒนธรรม จาก 3 แหล่งการเรียนรู้

นักศึกษาดิจิทัลคอนเทนต์และสื่อ ไม่เคยหยุดเรียนรู้ (Never stop learning)

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ หลักสูตรดิติทัลคอนเทนต์และสื่อ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ ได้จัดโครงการส่งเสริมการจัดการสารสนเทศทางวัฒนธรรม นำโดย อาจารย์ ดร. สัจจารีย์  ศิริชัย อาจารย์ประจำหลักสูตรดิจิทัลคอนเทนต์และสื่อ และ นายเมธัส อินทร์ทองปาน นักวิชาการสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ

โดยจัดให้มีโครงการศึกษาดูงานด้านการจัดการสารสนเทศด้านวัฒนธรรมขึ้น เพื่อเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรและส่งเสริมสนับสนุนคุณภาพของนักศึกษา กิจกรรมในครั้งนี้เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการเรียนรายวิชา DCM63-356 Digital GLAM Management System (ระบบจัดการหอศิลป์ ห้องสมุด หอจดหมายเหตุ และพิพิธภัณฑ์ดิจิทัล)

 

 

โดยในการจัดโครงการศึกษาดูงานในครั้งนี้มีนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 52 คนเข้าร่วมวัตถุประสงค์เพื่อ

  1. เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ให้กับนักศึกษาหลักสูตรดิจิทัลคอนเทนต์และสื่อในการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ การบริการ และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมของหน่วยงานต่างๆ
  2. เพื่อสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาในการเรียนรู้รายวิชาของสาขาวิชาฯ อันเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ การบริการ การตลาดดิจิทัล และการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านดิจิทัลคอนเทนต์และสื่อเพื่อการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม
  3. เพื่อกระตุ้นกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาให้มีความตื่นตัวต่อสภาพแวดล้อมในหน่วยงาน
    ต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
  4. เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างสาขาวิชาฯ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนของสาขาวิชาฯ

ในการศึกษาดูงานในครั้งนี้ ประกอบด้วยหน่วยงานต่าง ๆ 3 แห่ง ได้แก่

  1. กิจกรรมเรียนรู้จากเทศบาลนครนครศรีธรรมราช และพิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราช
  2. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
  3. พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระตำหนัก และแปลงทดสอบ สาธิต โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ในทั้งนี้ทางหลักสูตรดิจิทัลคอนเทนต์และสื่อ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ ขอขอบคุณสถานที่ศึกษาทั้ง 3 แห่งมา ณ ที่นี้ ที่ตอนรับนักศึกษา อาจารย์ และ นักวิชาการ เป็นอย่างดีตลอดการศึกษาดูงาน พร้อมทั้งให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศเชิงวัฒนธรรมเป็นอย่างดี ทำให้นักศึกษาสามารถมองเห็นภาพของการจัดการสารสนเทศที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับวัฒนธรรมทั้งอดีตและปัจจุบัน

Facebook Comments Box
Scroll to Top