สัมมนาวิชาการนานาชาติ

สำนักวิชาสารสนเทศฯ ม.วลัยลักษณ์ จัดสัมมนาวิชาการนานาชาติ “Informatics Education in Disruptive Era”

27 มีนาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, นครศรีธรรมราช, ประเทศไทย – นักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษาจาก 8 ประเทศได้เข้าร่วมสัมมนานานาชาติในหัวข้อที่มุ่งเน้นด้านการเปลี่ยนแปลงของการเรียนการสอนในสาขาสารสนเทศศาสตร์. ซึ่งงานดังกล่าวนี้จัดโดย Informatics Innovation Center of Excellence (IICE) และ School of Informatics, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เนื้อหาการสัมมนาครอบคลุมหัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาด้านสารสนเทศในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงและมีไว้สำหรับอาจารย์ นักวิชาการ หรือนักศึกษา การสัมมนามีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับผลการวิจัยล่าสุด แนวโน้ม และการพัฒนาในสาขานี้ สร้างเครือข่ายกับผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ และเพิ่มพูนความรู้และทักษะในสาขานั้น ๆ

การสัมมนาประกอบด้วยวิทยากรระดับโลก ได้แก่ Prof. Lance Chun Che Fung, IEEE AsiaPacificRegion (R10) Director 20232024 และ Prof. Dr. WuYuin Hwang, National Central University, Taiwan. โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาจะเข้าร่วมเซสชั่นการอภิปราย การเดโม และเซสชันเชิงโต้ตอบในหัวข้อต่าง ๆ ตั้งแต่สถานการณ์ด้านเรียนการสอนสาขาสารสนเทศศาสตร์ในปัจจุบันไปจนถึงการวางแผนเพื่อรับมือบริบทของโลกในยุคพังทลายที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมหาวิทยาลัย อาจารย์ และนักศึกษาต้องปรับตัวอย่างไรบ้างเพื่อรับมือกับภาวการณ์ดังกล่าวนี้

Prof. Dr. WuYuin Hwang ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีขั้นสูงที่สนับสนุนการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ได้แก่ LMS, VR, Online course, Online activities และ AR. โดยเทคโนโลยีขั้นสูงเหล่านี้ล้วนแต่มีศักยภาพในการปฏิวัติการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้ นักศึกษาและคณาจารย์สามารถเข้าถึงเครื่องมือและทรัพยากรใหม่ๆ ที่สามารถช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษาและเตรียมพร้อมสำหรับความต้องการของตลาดงานและภาควิสาหกิจในอนาคต

นอกจากนี้ในงานสัมมนายังมีการแสดงผลงานวิจัยของ IICE อันประกอบด้วยงานวิจัยที่โดดเด่นจำนวน 3 ด้าน ได้แก่

1. ระบบสารสนเทศด้านการเรียนการสอนและการวิจัยในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยที่พัฒนาโดย IICE เอง ได้แก่ ระบบห้องสมุดดิจิทัล WALAI AutoLib, ระบบสหบรรณานุกรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย (UCTAL) และระบบจัดเก็บวิทยานิพนธ์ดิจิทัลสำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย (TDC)

2. ระบบสารสนเทศด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ

3. ระบบมัลติมีเดีย, AR และ VR ในการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา

งานสัมมนานี้มีผู้ลงทะเบียนจำนวน 50 คน โดยเป็นชาวไทย 31 คน และชาวต่างประเทศ 19 คน คิดเป็นร้อยละ 62 และร้อยละ 38 ตามลำดับ ซึ่งถือเป็นการสัมมนาระดับนานาชาติที่มีจำนวนผู้เข้าร่วมบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ นอกจากนี้แล้วผลการประเมินงานสัมมนาในภาพรวมนั้นผู้เข้าร่วมสัมมนามีความพึงพอใจในระดับมาก และต้องการให้จัดงานสัมมนาในลักษณะนี้อีก ซึ่งศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมสารสนเทศ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ได้ตั้งเป้าในการจัดสัมมนาวิชาการนานาชาติเช่นนี้อีกในปีถัดๆไป

Facebook Comments Box
Scroll to Top