มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดทำวิดีโอภูมิปัญญาชาวบ้านการแปรรูปวัสดุเหลือใช้เป็นเครื่องจักรสาน เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้โครงการ “การจัดการทุนทางวัฒนธรรมฐานความเชื่อโดยรอบสันทรายโบราณเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย อาจารย์ ดร.นภารัตน์ ชูเกิด และนักศึกษาจากสำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ ลงพื้นที่ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช เพื่อถ่ายทำวิดีโอสัมภาษณ์แนวคิดในการนำวัสดุเหลือใช้จากบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เช่น ซองกาแฟ กล่องนม ซองขนมขบเคี้ยว มาแปรรูปแบบผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ เพื่อเพิ่มมูลค่าและประโยชน์ใช้สอยมากยิ่งขึ้น สำหรับการสัมภาษณ์นี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก นางสาวสุพรรณนา แก้วเถื่อน  ประธานกลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านเขาทราย มีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้

  • จุดเริ่มต้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • แนวคิดในการแปรรูปผลิตภัณฑ์
  • กระบวนการในการแปรรูปหรือขึ้นรูปผลิตภัณฑ์
  • การขยายโอกาสด้านการเรียนรู้การผลิตสินค้าในกลุ่มศิลปหัตถกรรม
  • การใช้เวลาและรายได้จากการดำเนินการผลิตสินค้าจากวัสดุเหลือใช้

จากจุดเริ่มต้นของความเป็นผู้ที่เคยได้รับโอกาส กลับขยายต่อยอดไปสู่ผู้ให้โอกาส โดยอาศัยภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาตั้งแต่ชนรุ่นก่อน นำไปสู่การพัฒนางานด้านศิลปะหัตกรรมอันทรงคุณค่า ช่วยสร้างรายได้และให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษาและคนในชุมชน สิ่งเหล่านี้ล้วนเสริมสร้างให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชุมบ้านเขาทราย สามารถดำเนินงานต่อไปได้อย่างยั่งยืน

แกลเลอรี่

ข่าวสารอื่นๆ