ผศ.ดร.เชาวนันท์ ขุนดำ หัวหน้าสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดียแอนิเมชันและเกม กับรายการ Walailak Research & Innovation กับงานวิจัยเทคโนโลยีโลกเสมือนและเมตาเวิร์สในอนาคตการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนหรือ VR (Virtual Reality) สามารถสร้างแบบจำลองสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างสมจริง รวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับระบบทำให้การจำลองการฝึกฝนทางการแพทย์มีความสมจริงมากขึ้น งานวิจัยนี้นอกจากจะเป็นการสร้างระบบ VR เพื่อฝึกฝนการใส่ท่อช่วยหายใจแล้วยังจะเป็นนวัตกรรมที่สามารถต่อยอดเพื่อใช้ในการฝึกฝนทางการแพทย์อื่นๆ ในอนาคตได้อีกด้วย
โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากทุนวิจัยส่วนบุคคลมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ WU62245 โดยมีบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ 2 บทความ
- Khundam, C., Sukkriang, N., & Noël, F. (2021). No difference in learning outcomes and usability between using controllers and hand tracking during a virtual reality endotracheal intubation training for medical students in Thailand. Journal of Educational Evaluation for Health Professions, 18, 1-8. https://doi.org/10.3352/jeehp.2021.18.22
- Khundam, C., Vorachart, V., Preeyawongsakul, P., Hosap, W., & Noël, F. (2021). A Comparative Study of Interaction Time and Usability of Using Controllers and Hand Tracking in Virtual Reality Training. MDPI Informatics, 8(3), 60, 1-13.
https://doi.org/10.3390/informatics8030060
สิ่งที่เกิดประโยชน์ของโครงการวิจัยในมิติต่างๆเทคโนโลยีนี้จะเป็นประโยชน์ที่สำคัญในด้านการฝึกอบรมและระบบฝึกผ่าตัด นักศึกษาแพทย์สามารถใช้ระบบนี้เพื่อเรียนรู้การทำหัตถการทำให้สามารถฝึกหัดได้จากระบบเสมือนจริง
ผลงานวิจัย ผศ.ดร.เชาวนันท์ ขุนดำ การฝึกปฏิบัติทางแพทย์ในโลกเสมือน ในรายการ Walailak Research & Innovation