เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา
หลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับเกียรติจาก อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมภายในงาน Walailak Investor Day 2025 ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเปิดเวทีให้คณาจารย์ นักวิจัย และผู้ประกอบการได้นำเสนอนวัตกรรมที่มีศักยภาพต่อการลงทุนและต่อยอดเชิงพาณิชย์
ในโอกาสนี้ ผศ.ดร.ชาลี แก้วรัตน์
อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์ ได้รับเชิญให้นำเสนอผลงานเรื่อง
✨"การออกแบบและพัฒนาระบบประเมินความแข็งแรงของร่างกายสำหรับผู้สูงอายุ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม (AR)"
ผลงานดังกล่าวเป็นนวัตกรรมที่มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม (Augmented Reality: AR) เพื่อช่วยประเมินสมรรถภาพทางกาย เช่น ความแข็งแรง...
เมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา หลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้จัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ในหัวข้อ “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม (Augmented Reality - AR) สำหรับงานทางการแพทย์” ให้กับนักเรียนจาก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคใต้ ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช
กิจกรรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ชาลี แก้วรัตน์ อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ พร้อมสาธิตตัวอย่างการใช้งานจริงของเทคโนโลยี AR ที่สามารถนำมาใช้สนับสนุนการเรียนรู้และการทำงานด้านการแพทย์ในยุคดิจิทัล
📱 ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้เกี่ยวกับ:
แนวคิดและหลักการทำงานของเทคโนโลยี AR
การประยุกต์ใช้...
นักศึกษาของเราสร้างชื่อเสียงให้กับหลักสูตรอย่างน่าภาคภูมิใจ โดยคว้ารางวัลจาก งานประกวดสหกิจศึกษาดีเด่น ระดับมหาวิทยาลัย ประจำปี 2568 ซึ่งจัดขึ้นเพื่อยกย่องผลงานของนักศึกษาที่มีความโดดเด่นทั้งด้านนวัตกรรม การประยุกต์ใช้ความรู้ และผลกระทบเชิงบวกต่อองค์กร
หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศอัจฉริยะ ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาทั้ง 3 คน ได้แก่ นายธนกฤต ศรีจรุง, นางสาวชมพูนุท มีแก้ว และ นายภานุวิชญ์ บุญมีมาก ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วม การประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2568 (Higher Education Innovation Awards 2025)
ระหว่างวันที่ 3–5 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา หลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ "Internet of Things (IoT)" ให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช เพื่อเปิดโลกทัศน์ทางเทคโนโลยีและสร้างแรงบันดาลใจในการเป็นนวัตกรรุ่นใหม่ 🌐🤖
การอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก อ.ดร.ธีรัช สายชู และ อ.ดร.นันท์นภัส ศิริบุญญพัฒน์ อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ เป็นวิทยากร ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์อย่างเข้มข้น
🔍 ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ IoT ในระบบสุขภาพ
🔧 ลงมือฝึกปฏิบัติจริงกับอุปกรณ์ IoT...
ขอแสดงความยินดีกับ
🎉 นางสาวบัสมีย์ กามะ
🎉 นางสาวฟาติมะห์ วงศ์สอนธรรม
นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ที่ได้รับ รางวัลสหกิจศึกษาดีเด่น ประเภทนวัตกรรมสหกิจศึกษา จากผลงานนวัตกรรม
“SMART Breast Risk: ระบบ AI ประเมินความเสี่ยงมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง”
🎖️ ผลงานดังกล่าวเป็นระบบอัจฉริยะที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน เพิ่มโอกาสในการค้นพบโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และสนับสนุนการตัดสินใจด้านสุขภาพของผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำเร็จในครั้งนี้สะท้อนถึงศักยภาพของนักศึกษาในการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีคุณค่าและสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งเป็นแรงบันดาลใจให้นักศึกษารุ่นต่อไปในการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อสังคมต่อไปในอนาคต 💡✨
เมื่อวันที่ 26-27 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา "ค่ายเด็ก Like สาระ ครั้งที่ 4" ได้จัดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ โดยเริ่มต้นในวันแรกด้วยกิจกรรมละลายพฤติกรรมสุดมันส์ ซึ่งทำให้เด็ก ๆ ได้รู้จักกันมากขึ้นจนเหมือนรู้จักกันมานานแรมปี และต่อด้วยกิจกรรมฐานสัมพันธ์ที่พาน้อง ๆ สนุกพร้อมเรียนรู้ ผ่านเกมและภารกิจสุดท้าทายที่ต้องใช้ทั้งความคิดสร้างสรรค์และการทำงานเป็นทีม
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 คณาจารย์และบุคลากรจากสำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ ได้เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง เพื่อความเป็นสิริมงคล และร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 33 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์ ดร.วิทยา หอทรัพย์ (อาจารย์หลักสูตร อินเทอร์แอคทีฟมัลติมีเดีย แอนิเมชันและเกม)
ได้รับรางวัลชมเชยในงานประกวดศิลปกรรม ช้างเผือกครั้งที่ 14 “น้ำกับความเปลี่ยนแปลง” ชื่อผลงาน “ฝนไม่คืนฟ้า”
สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขอแสดงความยินดี
บทความวิจัยได้รับการตอบรับตีพิมพ์ในวารสาร Ecological Informatics (Scopus Q1, 95th Percentile + International Collaboration)
“Toward causal artificial intelligence approach for PM2.5 interpretation: A discovery of structural causal models”