ในช่วงเช้า Dr. Ludovic Andres ได้เข้าพบ ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการศึกษา การพัฒนาทักษะดิจิทัล การแลกเปลี่ยนนักศึกษา และโอกาสในการทำวิจัยร่วมกันในอนาคต
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริวัจนา แก้วผนึก รักษาการแทนคณบดีสำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและคณาจารย์จากทุกหลักสูตรในสำนักวิชาฯ ได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่ Universiti Malaysia Perlis (UniMAP) ประเทศมาเลเซีย เพื่อสานต่อและขยายความร่วมมือทางวิชาการระดับนานาชาติ 🌐 ในโอกาสนี้ สำนักวิชาฯ ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจาก Associate Professor Dr. Mohammad Rezal Hamzah คณบดี และทีมผู้บริหารจาก...
ในการเยือนครั้งนี้ สำนักวิชาฯ ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจาก Prof. Dr. Osman Ghazali คณบดี School of Computing และทีมผู้บริหาร โดย School of Computing เป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศด้าน Enterprise Computing ของ UUM เปิดสอนหลักสูตรในระดับปริญญาตรี โท และเอก ในสาขาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มีพันธกิจในการพัฒนาด้านการเรียนการสอน การวิจัย นวัตกรรม การตีพิมพ์...
เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริวัจนา แก้วผนึก รักษาการแทนคณบดีสำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและคณาจารย์จากทุกหลักสูตร เดินทางเยือน Universiti Sains Malaysia (USM) ประเทศมาเลเซีย เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการระดับนานาชาติ 🌐 ในการเยือนครั้งนี้ คณะได้เข้าพบและประชุมร่วมกับ Centre for Instructional Technology and Multimedia, USM โดยทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of...
หลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขอแสดงความยินดีอย่างยิ่งแด่ อาจารย์ ดร.นันท์นภัส ศิริบุญญพัฒน์ อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์ ในโอกาสที่ได้รับทุน International Mobility Fund for Research Collaboration เพื่อเข้าร่วมการวิจัยและความร่วมมือทางวิชาการ ณ มหาวิทยาลัยคิวชู (Kyushu University) ประเทศญี่ปุ่น 🇯🇵 การได้รับทุนในครั้งนี้เป็นเครื่องยืนยันถึงศักยภาพและความมุ่งมั่นของอาจารย์ในการพัฒนางานวิจัยระดับนานาชาติ และยังเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่ส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนและงานวิจัยของหลักสูตรในอนาคต 💡📚 👏 ขอแสดงความยินดีและขออวยพรให้อาจารย์ประสบความสำเร็จในภารกิจครั้งนี้อย่างสูงสุด!
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา หลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับเกียรติจาก อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมภายในงาน Walailak Investor Day 2025 ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเปิดเวทีให้คณาจารย์ นักวิจัย และผู้ประกอบการได้นำเสนอนวัตกรรมที่มีศักยภาพต่อการลงทุนและต่อยอดเชิงพาณิชย์ ในโอกาสนี้ ผศ.ดร.ชาลี แก้วรัตน์ อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์ ได้รับเชิญให้นำเสนอผลงานเรื่อง ✨"การออกแบบและพัฒนาระบบประเมินความแข็งแรงของร่างกายสำหรับผู้สูงอายุ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม (AR)" ผลงานดังกล่าวเป็นนวัตกรรมที่มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม (Augmented Reality: AR) เพื่อช่วยประเมินสมรรถภาพทางกาย เช่น ความแข็งแรง...
     เมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา หลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้จัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ในหัวข้อ “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม (Augmented Reality - AR) สำหรับงานทางการแพทย์” ให้กับนักเรียนจาก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคใต้ ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช      กิจกรรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ชาลี แก้วรัตน์ อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ พร้อมสาธิตตัวอย่างการใช้งานจริงของเทคโนโลยี AR ที่สามารถนำมาใช้สนับสนุนการเรียนรู้และการทำงานด้านการแพทย์ในยุคดิจิทัล 📱 ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้เกี่ยวกับ: แนวคิดและหลักการทำงานของเทคโนโลยี AR การประยุกต์ใช้...
ระหว่างวันที่ 3–5 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา หลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ "Internet of Things (IoT)" ให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช เพื่อเปิดโลกทัศน์ทางเทคโนโลยีและสร้างแรงบันดาลใจในการเป็นนวัตกรรุ่นใหม่ 🌐🤖 การอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก อ.ดร.ธีรัช สายชู และ อ.ดร.นันท์นภัส ศิริบุญญพัฒน์ อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ เป็นวิทยากร ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์อย่างเข้มข้น 🔍 ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ IoT ในระบบสุขภาพ 🔧 ลงมือฝึกปฏิบัติจริงกับอุปกรณ์ IoT...
ขอแสดงความยินดีกับ 🎉 นางสาวบัสมีย์ กามะ 🎉 นางสาวฟาติมะห์ วงศ์สอนธรรม นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ได้รับ รางวัลสหกิจศึกษาดีเด่น ประเภทนวัตกรรมสหกิจศึกษา จากผลงานนวัตกรรม “SMART Breast Risk: ระบบ AI ประเมินความเสี่ยงมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง” 🎖️ ผลงานดังกล่าวเป็นระบบอัจฉริยะที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน เพิ่มโอกาสในการค้นพบโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และสนับสนุนการตัดสินใจด้านสุขภาพของผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสำเร็จในครั้งนี้สะท้อนถึงศักยภาพของนักศึกษาในการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีคุณค่าและสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งเป็นแรงบันดาลใจให้นักศึกษารุ่นต่อไปในการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อสังคมต่อไปในอนาคต 💡✨
เมื่อวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ "Data Visualization by Google Looker Studio" โดยมี คุณจารุวรรณ ลักษณจันทร์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ จากวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี มาเป็นวิทยากร การอบรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างทักษะในการใช้เครื่องมือ Google Looker Studio ในการสร้างและนำเสนอข้อมูลผ่านการ visualizing ให้สามารถเข้าใจและตีความข้อมูลได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในแวดวงการแพทย์และเทคโนโลยีดิจิทัล ในการอบรม ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้การสร้างแดชบอร์ดและรายงานที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงเทคนิคในการเลือกและจัดการข้อมูลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนและมีประโยชน์มากที่สุด ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญในยุคดิจิทัลที่การวิเคราะห์ข้อมูลมีบทบาทสำคัญในกระบวนการตัดสินใจ กิจกรรมนี้ได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักศึกษาและบุคลากรในหลักสูตรฯ ที่ได้เรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานในอนาคต...