นิเทศศาสตรบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ดิจิทัล

นิเทศศาสตรบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ดิจิทัล

ปรัชญา

        ปรัชญาหลักสูตร คือพัฒนาขีดความสามารถของบัณฑิตนิเทศศาสตร์ ให้ตอบสนองต่อตลาดวิชาชีพสื่อในยุคดิจิทัล ภายใต้แนวคิด

“สื่อสารสร้างสรรค์ เท่าทันเทคโนโลยี รับผิดชอบต่อสังคม”

วัตถุประสงค์

1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะด้านดิจิทัลแพลตฟอร์ม และมีแนวคิดผู้ประกอบการด้านสื่อที่สามารถตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมสื่อ
2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความพร้อมในการเข้าสู่โลกวิชาชีพโดยเน้นการประยุกต์ความรู้คู่การปฏิบัติ เป็นนักนิเทศศาสตร์ที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามจริยธรรมวิชาชีพ อาทิ ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพสื่อมวลชน สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ พ.ศ. 2564 จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพโฆษณา พ.ศ. 2566 ของสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย จริยธรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2552

3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570 และยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 20 ปี มุ่งเน้นพัฒนาบัณฑิตให้มีความสามารถในการแข่งขันตามแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในอุตสาหกรรมสื่อ
4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีผลลัพธ์ตามมาตรฐานการเรียนรู้ 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความรู้ ด้านทักษะด้านจริยธรรม และด้านลักษณะบุคคล ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565

แนวทางการประกอบอาชีพ

1) อาชีพด้านการสร้างสรรค์เนื้อหาในสื่อ (Content Creative)

– ผู้สร้างสรรค์เนื้อหาในสื่อออนไลน์ (Online Content Creator / Digital Content Creator)

– อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer)

– นักเล่าเรื่อง (Storyteller)

– ครีเอทีฟ (Creative)

– ผู้จัดการโครงการ (Project Manager)

 

2) อาชีพด้านการผลิตสื่อ (Production)

– ผู้กำกับ (Director)

นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer)

ช่างภาพ (Photographer)

ช่างภาพวิดีโอ (Camera man)

ผู้ลำดับภาพ (Video Editor)

ผู้จัดการกองถ่าย (Production Manager)

ผู้อำนวยการการผลิต (Producer)

 

3) อาชีพด้านผู้ประกอบการธุรกิจสื่อ (Entrepreneur)

ยูทูปเปอร์ (YouTuber)

ช่างภาพอิสระ (Freelance photographer)

ผู้อำนวยการบริหารการผลิต (Production company executive)

นักจัดอีเว้นท์ (Event organizer)

 

4) อาชีพในหน่วยงานของรัฐ และเอกชน (Government and private sector)

– นักประชาสัมพันธ์

– นักสื่อสารมวลชน

– เจ้าหน้าที่ผลิตสื่อและสารสนเทศ

– นักสื่อสารการตลาด

ค่าธรรมเนียม

  1. ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 25,000 บาท
  2. ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 200,000 บาท

โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา ​

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 126 หน่วยกิต

หมวดวิชา

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2567 หน่วยกิต

ก) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า

26

โดยเลือกภาษาอังกฤษ 9 หน่วยกิต

หรือภาษาจีน 9 หน่วยกิต

ข) หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า

94

– กลุ่มวิชาแกน

60

– กลุ่มวิชาโท

21

– กลุ่มวิชาสหกิจ

13

ค) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า

6

หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า

126

ช่องทางการติดต่อ

หลักสูตรนิเทศศาสตร์ดิจิทัล

สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

โทร: 075-672204

สถาบันที่อนุมัติและทำการสอน

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา

ผ่านการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย

แนวทางการศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขานิเทศศาสตร์ การสื่อสารมวลชน การสื่อสารการตลาด หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

เกณฑ์การรับนักศึกษา

การกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิการศึกษา

ภาพกิจกรรมของหลักสูตร